^-^ MY WELCOME ^-^

^-^ ยินดีต้อนรับเข้าสู่ Web Blog ของผมครับ ^-^

วันอาทิตย์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2555

Acknowledged for Microsoft Excel



การใช้โปรแกรม Microsoft Excel ในการสร้างแฟ้มงาน การคำนวณ ... 


    สมาชิกกลุ่มประกอบด้วย  ครูสุชาดา, ครูสายสุนีย์, ครูณัฎฐ์ธยาน์, ครูนิศารัตน์ และครูปิยภรณ์
           

         ขอบเขตการใช้โปรแกรมที่กลุ่มนำเสนอ
             1. การ sum ข้อมูล 
             2. การ run เลขหน้า
             3. การเพิ่มความสูงกว้างของตาราง
             4. การ แทรกเซลล์
             5. การผสานเซลล์
             6. การเลือกรูปแบบการทำรายงาน   
             7. การจัดวางทิศทางของตัวอักษร
             8. การผสานเซลล์ และการจัดเซลล์ 

หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง




Cquote1.svg
...การพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับขั้น ต้องสร้างพื้นฐาน คือ ความพอมีพอกิน พอใช้ของประชาชนส่วนใหญ่เป็นเบื้องต้นก่อน โดยใช้วิธีการและใช้อุปกรณ์ที่ประหยัด แต่ถูกต้องตามหลักวิชา เมื่อได้พื้นฐานมั่นคงพร้อมพอควรและปฏิบัติได้แล้ว จึงค่อยสร้างค่อยเสริมความเจริญและฐานะเศรษฐกิจขั้นที่สูงขึ้นโดยลำดับต่อไป หากมุ่งแต่จะทุ่มเทสร้างความเจริญ ยกเศรษฐกิจขึ้นให้รวดเร็วแต่ประการเดียว โดยไม่ให้แผนปฏิบัติการสัมพันธ์กับสภาวะของประเทศและของประชาชนโดยสอดคล้องด้วย ก็จะเกิดความไม่สมดุลในเรื่องต่าง ๆ ขึ้น ซึ่งอาจกลายเป็นความยุ่งยากล้มเหลวได้ในที่สุด...
Cquote2.svg
— พระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วันพฤหัสบดีที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2517
เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาที่ยึดหลักทางสายกลาง ที่ชี้แนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติของประชาชนในทุกระดับให้ดำเนินไปในทางสายกลาง มีความพอเพียง และมีความพร้อมที่จะจัดการต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลง ซึ่งจะต้องอาศัยความรอบรู้ รอบคอบ และระมัดระวัง ในการวางแผนและดำเนินการทุกขั้นตอน ทั้งนี้ เศรษฐกิจพอเพียงเป็นการดำเนินชีวิตอย่างสมดุลและยั่งยืน เพื่อให้สามารถอยู่ได้แม้ในโลกโลกาภิวัตน์ที่มีการแข่งขันสูง

แผนภาพแสดงแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง 3 ห่วง 2 เงื่อนไข
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่ทรงปรับปรุงพระราชทานเป็นที่มาของนิยาม "3 ห่วง 2 เงื่อนไข" ที่คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นำมาใช้ในการรณรงค์เผยแพร่ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงผ่านช่องทางสื่อต่าง ๆ อยู่ในปัจจุบัน ซึ่งประกอบด้วยความ "พอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน" บนเงื่อนไข "ความรู้" และ "คุณธรรม"
ดร.จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา ประธานคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง อธิบายถึงการพัฒนาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ว่า เป็นการพัฒนาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลางและความไม่ประมาท โดยคำนึงถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัวตลอดจนการใช้ความรู้ ความรอบคอบละคุณธรรมประกอบการวางแผน การตัดสินใจและการกระทำต่างๆ ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดี ที่ไม่มากและไม่น้อยจนเกินไป ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่พอประมาณ ความมีเหตุผล หมายถึง การใช้หลักเหตุผลในการตัดสินใจเรื่องต่างๆ โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นอย่างรอบคอบ การมีภูมิคุ้มกันที่ดี หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับต่อผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงรอบตัว ปัจจัยเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้นั้น จะต้องอาศัยความรู้ และคุณธรรม เป็นเงื่อนไขพื้นฐาน กล่าวคือ เงื่อนไขความรู้ หมายถึง ความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังในการดำเนินชีวิตและการประกอบการงาน ส่วนเงื่อนไขคุณธรรม คือ การยึดถือคุณธรรมต่างๆ อาทิ ความซื่อสัตย์สุจริต ความอดทน ความเพียร การมุ่งต่อประโยชน์ส่วนรวมและการแบ่งปัน ฯลฯ ตลอดเวลาที่ประยุกต์ใช้ปรัชญา
อภิชัย พันธเสน ผู้อำนวยการสถาบันการจัดการเพื่อชนบทและสังคม ได้จัดแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงว่าเป็น "ข้อเสนอในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจตามแนวทางของพุทธธรรมอย่างแท้จริง" ทั้งนี้เนื่องจากในพระราชดำรัสหนึ่ง ได้ให้คำอธิบายถึง เศรษฐกิจพอเพียง ว่า "คือความพอประมาณ ซื่อตรง ไม่โลภมาก และต้องไม่เบียดเบียนผู้อื่น"
ระบบเศรษฐกิจพอเพียงมุ่งเน้นให้บุคคลสามารถประกอบอาชีพได้อย่างยั่งยืน และใช้จ่ายเงินให้ได้มาอย่างพอเพียงและประหยัด ตามกำลังของเงินของบุคคลนั้น โดยปราศจากการกู้หนี้ยืมสิน และถ้ามีเงินเหลือ ก็แบ่งเก็บออมไว้บางส่วน ช่วยเหลือผู้อื่นบางส่วน และอาจจะใช้จ่ายมาเพื่อปัจจัยเสริมอีกบางส่วน สาเหตุที่แนวทางการดำรงชีวิตอย่างพอเพียง ได้ถูกกล่าวถึงอย่างกว้างขวางในขณะนี้ เพราะสภาพการดำรงชีวิตของสังคมทุนนิยมในปัจจุบันได้ถูกปลูกฝัง สร้าง หรือกระตุ้น ให้เกิดการใช้จ่ายอย่างเกินตัว ในเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องหรือเกินกว่าปัจจัยในการดำรงชีวิต เช่น การบริโภคเกินตัว ความบันเทิงหลากหลายรูปแบบ ความสวยความงาม การแต่งตัวตามแฟชั่น การพนันหรือเสี่ยงโชค เป็นต้น จนทำให้ไม่มีเงินเพียงพอเพื่อตอบสนองความต้องการเหล่านั้น ส่งผลให้เกิดการกู้หนี้ยืมสิน เกิดเป็นวัฏจักรที่บุคคลหนึ่งไม่สามารถหลุดออกมาได้ ถ้าไม่เปลี่ยนแนวทางในการดำรงชีวิต
ซึ่ง ดร. สุเมธ ตันติเวชกุล ได้กล่าวว่า "หลาย ๆ คนกลับมาใช้ชีวิตอย่างคนจน ซึ่งเป็นการปรับตัวเข้าสู่คุณภาพ" และ "การลงมือทำด้วยความมีเหตุมีผล เป็นคุณค่าของเศรษฐกิจพอเพียง"


Email: kongmatpruk@gmail.com

วันเสาร์ที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2555

Acknowledged for Adobe PhotShop CS3

การใช้โปรแกรม Adobe Photoshop ในการตกแต่งภาพ: 


สมาชิกกลุ่มประกอบด้วย:  ครูกฤษฎา, ครูธวัชพนธ์, ครูแพรวรมิดาว์, ครูณัฐพล และครูสรวิชญ์          


               ขอบเขตการใช้โปรแกรมที่กลุ่มนำเสนอ:
             

               1. เมนูการใช้  Adobe Photoshop ในการตกแต่งภาพ
               2. focus ที่การใช้เครื่องมือ Lasso tool ในการเลือกตำแหน่งในการเลือกพื้นที่ที่ต้องปรับแต่ง ภาพโดยการตัดบริเวณรูปของบุคคลเพียงอย่างเดียวเพื่อให้ Effect ในการปรับแต่งไม่มีผลต่อ Background
               3. การใช้เครื่องมือ stamp ในการตกแต่ง ภาพเช่นการลบร่องรอยบนพื้นผิวของบุคลล
               4. การใช้เครื่องมือ Filter ปรับแต่ง grain เพื่อให้ภาพดูเหมือนภาพที่ถ่ายด้วย Film
               5.การใช้เครื่องมือ Filter สร้างผลของภาพให้มีลักษณะภาพ Blur หรือภาพที่มีความชัดลึก/ ชัดตื้น (Depth of Field) ได้แก่การทำให้พื้นหลังของภาพ เบลอ เหมือน การถ่ายภาพจากกล้อง DSLR หรือบางทีอาจเรียกว่าการทำ "หน้าชัดหลังเบลอ" ซึ่งภาษาทางการถ่ายภาพเรียกว่า ภาพชัดตื้น ในทางกลับกัน สามารถสร้างลักษณะของภาพให้ด้านหน้าเบลอแต่ภาพด้านหลัง(Background)ชัด ก็จะได้อารมณ์ของภาพแตกต่างออกไป แบบนี้ภาษาทางการถ่ายภาพเรียกว่า ภาพชัดลึก
               6.การเรียนรู้วิธีการบันทึก file เป็นนามสกุลต่างๆ เช่น psd, jpg, bmp (นิยมใช้3นามสกุลนี้) 



Email: kongmatpruk@gmail.com